วารสาร Pediatric Research รายงานถึงผลการศึกษาทางพันธุกรรมครั้งใหม่ที่เผยให้เห็นว่า แบคทีเรียในลำไส้และสารเมตาบอไลต์ในเลือดมีผลต่อการเกิดภาวะเตี้ยในเด็ก
นอกจากจุลินทรีย์ในลำไส้และสารเมตาบอไลต์จะส่งผลดีต่อสุขภาพกระดูกของมนุษย์แล้ว ในการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับภาวะเตี้ยในเด็ก (Short Statue หรือ SS) มีความสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในลำไส้และสารเมตาบอไลต์บางชนิด นอกจากจุลินทรีย์ในลำไส้จะมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูกแล้ว สารเมตาบอไลต์บางชนิดก็มีผลเช่นกัน เช่น Roseburia, Parasutterella และ Clostridium sensu stricto 1 ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด SS แต่ขณะที่ 3-(4-hydroxyphenyl) lactate และ cyclo(Leu-Pro) ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิด SS ขณะที่ caffeine, laurate และ 4-hydroxyhippurate ทำให้เกิดความเสี่ยงต่ำกว่า
แต่การศึกษานี้ยังอยู่ในช่วงการทดลองกับสัตว์เท่านั้น ขณะที่ภาวะเตี้ยในเด็กนั้นส่งผลให้เด็ก มีส่วนสูงแคระแกรนไม่ต่ำกว่า 144 คนทั่วโลก ซึ่งอาจจะมีปัจจัยทางอีพีเจเนติกส์ สิ่งแวดล้อม และพันธุกรรม ที่มาเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะ SS อีกทั้งยังขาดการวิเคราะห์กลุ่มย่อยทางประชากรศาสตร์ ทั้งในแง่อายุ เพศ หรือกลุ่มบรรพชน จึงต้องมีการศึกษาและวิจัยทางคลินิกต่อไปเพื่อหาแนวทางป้องกันและรักษาภาวะ SS ให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต