การสำรวจข้อมูลผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจในจีนโดยเปรียบเทียบกันในระดับอุณหภูมิรายชั่วโมงพบว่า ช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนสูงที่แผ่ขยายครอบคลุมทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
วารสาร American College of Cardiology รายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเกือบ 2.4 ล้านรายในจีนแผ่นดินใหญ่ ระหว่างปี ค.ศ.2013 ถึง 2019 โดยเปรียบเทียบกับอุณหภูมิรายชั่วโมง โดยทีมวิจัยของนายเหรินเจ๋ย เฉิน นักวิจัยอาวุโส ซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฟู่ตันในนครเซี่ยงไฮ้ พบว่า ผู้คนมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากภาวะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจมากกว่า 86%ในช่วงที่คลื่นความร้อนแบบแผ่คลุมทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ขณะที่ช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนเฉพาะในเวลากลางวัน จะมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 19% และมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้นจากคลื่นความร้อนเฉพาะตอนกลางคืนเพิ่มขึ้น 16%
พวกเขาพบว่า คลื่นความร้อนแบบครอบคลุมทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันเพิ่มขึ้น 86% ขณะที่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากคลื่นความร้อนเฉพาะเวลากลางคืนอยู่ที่ 37% และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากคลื่นความร้อนเฉพาะเวลากลางวันอยู่ที่ 24% ขณะเดียวกัน การเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 88% ในช่วงคลื่นความร้อนแบบครอบคลุมทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อเทียบกับการเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนเฉพาะเวลากลางคืนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 16% และการเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อนเฉพาะเวลากลางวันมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 13%