
มหาวิทยาลัยนานาชาติมหาริชิในสหรัฐอเมริการวบรวมข้อมูลของผู้ฝึกจิตปรมัตถ์สมาธินานกว่า 12 ปี และอ้างว่าการฝึกจิตปรมัตถ์สมาธิช่วยต่อต้านผลกระทบจากความเครียดเรื้อรังและความชราได้
Dr.Kenneth Walton และทีมวิจัยทำการตรวจสอบยีน กลไกการรับรู้ของสมอง และระดับคอร์ติซอลในเส้นผมทั้งจากกลุ่มผู้ฝึกจิตปรมัตถ์สมาธิ หรือ Transcendental Meditation (TM) มาเป็นเวลา 12 หรือ 40 ปี และกลุ่มคนที่ไม่ได้ฝึกนั่งสมาธิ พวกเขาพบว่า กลุ่มที่ฝึก TM นานถึง 40 ปี มีระดับคอร์ติซอลต่ำและการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความชราอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มที่ฝึกจิตปรมัตถ์สมาธิมีสุขภาพที่ดีกว่า สติปัญญาที่ดีกว่า และปรับตัวให้เผชิญกับความเครียดได้ดีมากกว่าด้วย
ท่านมหาริชี มเหช โยคี หรือ มหาริชี ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวอินเดีย เป็นผู้นำการฝึกจิตปรมัตถ์สมาธิในศาสนาพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณของอินเดียมาเผยแพร่ในโลกตะวันตกเมื่อปีค.ศ.1958 จนเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน นาง Supaya Wenuganen นักสรีรวิทยาในมหาวิทยาลัยนานาชาติมหาริชิ กล่าวเสริมว่า การศึกษาครั้งนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่า การฝึกจิตปรมัตถ์สมาธิ หรือนั่งสมาธิในระยะยาวมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายในระดับโมเลกุล
ทั้งนี้ คอร์ติซอลเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อความเครียดของร่างกาย และระดับคอร์ติซอลที่สูงเรื้อรังมักเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพตามอายุขัย นอกเหนือจากสมองเสื่อม
ข้อมูลจาก: https://www.sciencealert.com/long-term-meditation-may-reduce-stress-and-aging-study-suggests