
นักวิจัยอเมริกันพบว่าการไหลเวียนของเลือดทำให้ส่วนฮิปโปแคมปัสของสมองมีความแข็งตึงขึ้น จึงลดความเสี่ยงของการเกิดอาการอัลไซเมอร์
ในการตรวจสมองของอาสาสมัคร 17 คนที่มีอายุระหว่าง 22 ถึง 35 ปี โดยใช้ Magnetic Resonance Elastography (MRE) และการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง UW Center for Human Neuroscience และ Icahn School of Medicine at Mount Sinai
นักวิจัยได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดด้านระดับความแข็งตัวของสมองที่แตกต่างกัน และโดยสรุปแล้ว การไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นทำให้สมองส่วนฮิบโปแคมปัส ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และความทรงจำ มีลักษณะความแข็งตึงขึ้น (stiffness) อันแสดงถึงสุขภาพที่สมบูรณ์ในส่วนของฮิปโปแคมปัส
Dr. Caitlin Neher หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าฮิปโปแคมปัสเป็นเพียงส่วนเดียวของสมองที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการไหลเวียนของเลือดและความแข็งตึงของฮิปโปแคมปัสที่จำเป็นต้องมีการเผาผลาญสูงพลังงานสูง ในขณะที่สมองส่วนฮิปโปแคมปัสของผู้่ป่วยอัลไซเมอร์มักจะฝ่อตัวลงด้วยสาเหตุบางปัจจัยและทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง การค้นพบนี้จึงถือเป็นการเปิดทางใหม่ที่เป็นไปได้ในการหาเกณฑ์วินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์แต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการความจำเสื่อมจะเกิดขึ้น โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้นกับสมองในส่วนฮิปโปแคมปัส