
โรคกลัว คืออะไร ?
โรคกลัว (phobia) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งในกลุ่มของโรควิตกกังวล โดยมีลักษณะเด่นคือ การกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงและโดยไม่มีเหตุสมผล แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่มีอันตรายก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคกลัวมักจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตนกลัว และเมื่อเผชิญหน้าก็จะเกิดอาการตื่นตระหนก วิตกกังวล หรือถึงขั้นหมดสติ
โรคกลัวแตกต่างจากความกลัวทั่วไป เพราะผู้ที่เป็นโรคกลัวจะมีอาการซ้ำ ๆ เมื่อเผชิญสิ่งกระตุ้น และอาการนั้นจะรบกวนการใช้ชีวิตปกติ เช่น การหลีกเลี่ยงการโดยสารเครื่องบินจนไม่สามารถเดินทางทำงาน หรือไม่กล้าออกจากบ้านเพราะกลัวผู้คน
โรคกลัวเกิดจากอะไร ?
- ประสบการณ์ในอดีต เช่น เคยถูกสุนัขกัด
- การเลียนแบบพฤติกรรมจากคนใกล้ชิด
- พันธุกรรมและเคมีสมองผิดปกติ
- สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู
โรคกลัว มีอาการอย่างไร ?
- อาการทางจิตใจ: รู้สึกกลัว หวาดระแวง
- อาการทางร่างกาย: ใจสั่น เหงื่อออก หายใจเร็ว
- พฤติกรรมหลีกเลี่ยงสิ่งที่กลัว
- ความทุกข์ทางอารมณ์ เช่น รู้สึกผิด อับอาย
กลัวแบบไหน ถึงจะเข้าข่ายโรคกลัว
- กลัวรุนแรงโดยไม่มีเหตุสมผล
- กลัวต่อเนื่องเกิน 6 เดือน
- หลีกเลี่ยงจนกระทบการใช้ชีวิต
- รู้ว่ากลัวเกินเหตุแต่ห้ามตัวเองไม่ได้
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคกลัว
- โรคซึมเศร้า
- โรควิตกกังวลหรืออาการตื่นตระหนก
- ภาวะติดสารเสพติดหรือพฤติกรรมเลี่ยงปัญหา
- ความสัมพันธ์ส่วนตัวเสียหาย
โรคกลัวอย่างจำเพาะเจาะจง มีกี่ประเภท
- กลัวสัตว์ เช่น งู แมงมุม
- กลัวสิ่งแวดล้อม เช่น ความสูง ฟ้าร้อง
- กลัวเลือดหรือการแพทย์ เช่น เข็ม เลือด
- กลัวสถานการณ์ เช่น ลิฟต์ เครื่องบิน
- กลัวอื่น ๆ เช่น เสียงดัง สิ่งแปลก ๆ
โรคกลัว ที่พบได้บ่อย
- กลัวที่แคบ (claustrophobia)
- กลัวเลือด (hemophobia)
- กลัวเครื่องบิน (aerophobia)
- กลัวความสูง (acrophobia)
- กลัวเชื้อโรค (mysophobia)
- กลัวเข็ม (needle phobia)
วิธีการรักษาโรคกลัว (phobia)
- ปรับพฤติกรรมและฝึกจิตใจ
- ปรับความคิดในแง่บวก
- เข้ารับการบำบัดทางจิต เช่น CBT
- การใช้ยาเมื่อจำเป็น
- ติดตามผลกับผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อเป็นโรคกลัว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ?
- ค่อย ๆ เผชิญกับสิ่งที่กลัว
- พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ
- ดูแลสุขภาพกายและใจ
- เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุน
- ยอมรับและเข้าใจตนเอง
โรคกลัว (phobia) คือ ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากความกลัวอย่างรุนแรงและไม่สมเหตุสมผล ซึ่งสามารถส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ แต่สามารถรักษาได้หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและมีการสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้าง
ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
23 July 2568
ที่มา กรมสุขภาพจิต
https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2533