จะเกิดอะไรถ้าเรา 'ดื่มน้ำน้อย'

"ในร่างกายของเรา มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70%" น้ำในร่างกายแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ในเซลล์ประมาณ 60% มีอยู่นอกเซลล์ประมาณ 30% และที่อยู่ในเนื้อเยื่อ หรือเลือดอีก 10% เหตุนี้จึงทำให้มนุษย์ต้องการน้ำ ประมาณ 2–3 ลิตรต่อวัน ในทางกลับกัน แต่ละวันร่างกายก็มีการขับน้ำออกในลักษณะของปัสสาวะ 0.5-2.3 ลิตร นอกจากนั้นยังมีการขับน้ำออกทางเหงื่อ อุจจาระ และลมหายใจถ้าเราดื่มน้ำน้อย จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือดของเรามีความหนืดและข้นขึ้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการไหลเวียนของเลือด
จะเกิดอะไรถ้าเราดื่มน้ำน้อย
1. สมองเสื่อมหากน้ำในร่างกายไม่เพียงพอ ทำให้เลือดมีความข้นหนืดหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงที่สมองได้เพียงพอ
2. ริดสีดวงทวารหากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ เราไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป เมื่อของเสียอยู่ในลำไส้ก็จะดูดซึมกลับเข้าร่างกายไปอีกยิ่งทำให้เลือดมีของเสียและข้นหนืดกว่าเดิมอุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนท้องผูกและกลายเป็นโรคริดสีดวงทวารได้
3.ปวดข้อ กระดูกอ่อนรวมถึงหมอนรองกระดูก มีน้ำเป็นส่วนประกอบร้อยละ 80 หากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้งไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ / กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การดื่มน้ำน้อยหรือกลั้นปัสสาวะนาน อาจทำให้ทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อได้
5. อ้วน การดื่มน้ำน้อยอาจนำไปสู่โรคอ้วนได้ เพราะการดื่มน้ำอย่างเพียงพอในตอนเช้า ระหว่างมื้อกลางวัน และตอนเย็น หรืออาจดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนทานอาหารช่วยให้อิ่มง่ายอิ่มเร็วกว่าการทานอาหารโดยไม่ดื่มน้ำเลย
6. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หากประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ มีสีเข้มเกินไป มาเป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งปวดท้องประจำเดือนมาก อาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อยเพราะน้ำในร่างกายไม่พอนำไปสร้างเป็นประจำเดือนนั่นเอง


วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำน้อยเกินไประหว่างวัน ได้แก่ ปัสสาวะไม่ถึง 4-7 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มแทบทุกครั้งและปัสสาวะมีกลิ่นฉุนจัด


ข้อแนะนำ: ดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเฉลี่ยวันละ 8-10 แก้ว (1.5-2 ลิตร/คน/วัน) หรือดื่มเพิ่มตามน้ำหนักตัวเพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ ควรจิบน้ำบ่อยๆ ตลอดวันจะได้ประโยชน์ดีกว่า

 


ขอบคุณที่มา https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/rrhlnews/209510