สนใจทำการตลาดผ่านสื่อและบริการของเราติดต่อ 0926516944 , 02 4243434, 02 434 3434
ขณะนี้ถือได้ว่ามีความคืบหน้าเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องเด็กและผู้ใหญ่จากการติดเชื้อไวรัส Respiratory Syncytial Virus หรือ RSV ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี โดยการติดเชื้อ RSV สามารถทำให้เด็กมีความเจ็บป่วยรุนแรงจนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ขณะเดียวกันผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อ RSV ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นและมีโรคประจำตัว เช่น โรคหืดและโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งอาจทำให้มีอาการป่วยรุนแรง เช่น ปอดบวมหรือปอดอักเสบ จนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาลหรืออาจเสียชีวิตได้เช่นกัน
โดยเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2566 สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) แจ้งว่าคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้การรับรอง respiratory syncytial virus vaccine หรือ RSV vaccine ของบริษัท Pfizer ที่มีชื่อทางการค้าว่า Abrysvo ซึ่งเป็น unadjuvanted bivalent RSV prefusion F vaccine ที่ประกอบด้วยโปรตีนของเชื้อไวรัส RSV สายพันธุ์ RSV-A และ RSV-B สำหรับใช้ในสตรีตั้งครรภ์ด้วยการฉีดเพียงเข็มเดียว (0.5 mL) เข้าชั้นกล้ามเนื้อ (intramuscular injection หรือ IM) ที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ไปจนถึง 36 สัปดาห์ เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract disease, LRTD) และ severe LRTD จากการติดเชื้อไวรัส RSV ให้กับทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน
Abrysvo นับเป็น RSV vaccine ตัวแรกและตัวเดียวเท่านั้นในขณะนี้ ที่ได้รับการรับรองจาก FDAสำหรับใช้เป็น maternal immunization เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน คือ serum anti-F immunoglobulin G จากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์แล้วส่งผ่านรก (placenta) ไปปกป้องทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือนหลังคลอดให้รอดพ้นจากโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและ severe LRTD ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส RSV
ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ Abrysvo ที่ FDA ใช้พิจารณาในการให้การรับรองวัคซีน RSV ตัวนี้ในข้อบ่งใช้ดังกล่าวข้างต้นก็คือผลลัพธ์จากการศึกษาทางคลินิกของAbrysvo ใน pivotal Phase 3 clinical trial ที่มีชื่อว่า MATISSE (MATernalImmunization Study for Safety and Efficacy) ซึ่งเป็นการศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, double-blinded, placebo-controlled Phase 3 study ที่มุ่งประเมิน efficacy, safety และ immunogenicity ของ Abrysvo ที่มีต่อทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือนที่คลอดจากแม่ที่ได้รับวัคซีน RSV ตัวนี้ เปรียบเทียบกับ placebo โดยผลการศึกษาของ MATISSE ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ไว้ในวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine (NEJM) ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2566
ใน MATISSE trial มีสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 7,358 ราย ซึ่งถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจำนวน 3,682 รายได้รับวัคซีน Abrysvo ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 3,676 ได้รับ placebo โดยประเมิน efficacy, safety และ immunogenicity ของ Abrysvo ในทารกจำนวนจำนวนทั้งสิ้น 7,128 ราย ประกอบด้วย 3,570 รายจากแม่ที่ได้รับวัคซีน Abrysvo ในระหว่างตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ไปจนถึง 36 สัปดาห์ และอีก 3,558 รายจากแม่ที่ได้รับ placebo ในช่วงอายุครรภ์เดียวกันโดยมี primary efficacy endpoints คือ medically attended severe RSV-associated lower respiratory tract illness (มีอาการรุนแรงมากถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล) และ medically attended RSV-associated lower respiratory tract illness (มีอาการรุนแรงปานกลางจนทำให้ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์) ในทารกภายใน 90, 120, 150 และ 180 วันหลังคลอด
ผลการศึกษาพบว่า Abrysvoมี vaccine effectiveness (VE)อยู่ที่ 81.8% (99.5% confidence interval, 40.6 to 96.3)ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ medically attended severe RSV-associated lower respiratory tract illness ในทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 90 วันหรือประมาณ 3 เดือนหลังคลอด และที่ 180 หรือประมาณ 6 เดือนหลังคลอด Abrysvo มี VE อยู่ที่ 69.4% (97.58% confidence interval, 44.3 to 84.1) ในการป้องกัน medically attended severe RSV-associated lower respiratory tract illness ขณะเดียวกันพบว่า Abrysvo มี VE อยู่ที่ 57.1% (99.5% CI, 14.7 to 79.8) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ medically attended RSV-associated lower respiratory tract illness ในทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 90 วันหลังคลอด
โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เป็น subgroup analysis ของสตรีตั้งครรภ์จำนวนประมาณ 1,500 รายที่ได้รับวัคซีน Abrysvo ที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ไปจนถึง 36 สัปดาห์ พบว่า Abrysvo มี VE อยู่ที่ประมาณ 91% ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ medically attended severe RSV-associated lower respiratory tract illness ในทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 90 วันหลังคลอด และมี VE อยู่ที่ประมาณ 76% ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ medically attended severe RSV-associated lower respiratory tract illness ในทารกนับตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึง 180 วันหลังคลอด
สำหรับข้อมูลด้านความปลอดภัยของ Abrysvo เปรียบเทียบกับ placebo พบว่ามีอุบัติการณ์ของ adverse events แทบจะไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Abrysvo (ประเมินภายใน 1 เดือนหลังจากได้รับวัคซีน Abrysvo สำหรับสตรีตั้งครรภ์และ 1 เดือนหลังคลอดสำหรับทารกที่แม่ได้รับวัคซีน Abrysvo) และกลุ่มที่ได้รับ placebo (แม่ไม่ได้รับวัคซีน Abrysvoขณะตั้งครรภ์ จึงไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส RSV ส่งผ่านไปยังลูก) กล่าวคือ 13.8% และ 37.1% ตามลำดับสำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีน Abrysvo เทียบกับ 13.1% และ 34.5% ตามลำดับสำหรับกลุ่มที่ได้รับ placebo โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีน Abrysvo ประกอบด้วยอาการปวดที่ตำแหน่งฉีด, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อและคลื่นไส้ นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่ามีอุบัติการณ์ของ preeclampsia เกิดขึ้นใน 1.8% ของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีน Abrysvo เทียบกับ 1.4% ของกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับ placebo
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 FDA ได้ให้การรับรอง Abrysvo สำหรับป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างและ severe LRTD จากการติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยมีข้อมูลสนับสนุนจาก pivotal Phase 3 clinical trial ที่มีชื่อว่า RENOIR (RSV vaccine Efficacy study iNOlder adults Immunized against RSV disease) ซึ่งเป็นการศึกษาทางคลินิกแบบ global, randomized, double-blind, placebo-controlled trial ที่มุ่งประเมิน efficacy, safety และ immunogenicity ของ Abrysvo (ฉีดเพียงเข็มเดียวเข้าชั้นกล้ามเนื้อ) ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 34,000 คน ซึ่งถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณ 17,000 คนได้รับ Abrysvo (120 μg) ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณ 17,000 คนได้รับ placebo โดยมี primary endpoints อยู่ 2 ประการ คือ VE ของ Abrysvo ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ seasonal RSV-associated lower respiratory tract illness ที่มี signs & symptoms อย่างน้อย 2 หรือ 3 อย่าง เช่น cough, wheezing, sputum production หรือ shortness of breath (severe LRTD ที่ทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล) และ VE ของ Abrysvo ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ RSV-associated acute respiratory illness (รุนแรงปานกลางที่ทำให้ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์) การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารแพทย์ NEJM ฉบับประจำวันที่ 20 เมษายน 2566
ผลการศึกษาพบว่า Abrysvo มี VE อยู่ที่ 66.7% (96.66% confidence interval, 28.8 to 85.8) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ seasonal RSV-associated lower respiratory tract illness ที่มี signs & symptoms อย่างน้อย 2 อย่าง, มี VE อยู่ที่ 85.7% (96.66% confidence interval, 32.0 to 98.7) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ seasonal RSV-associated lower respiratory tract illness ที่มี signs & symptoms อย่างน้อย 3 อย่าง และมี VE อยู่ที่ 62.1% (95% confidence interval, 37.1 to 77.9) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ RSV-associated acute respiratory illness ขณะที่ด้านความปลอดภัยพบว่ามีอุบัติการณ์ของ local reactions อยู่ที่ 12% ในกลุ่มที่ได้รับ Abrysvo เทียบกับ 7% ของกลุ่มที่ได้รับ placebo แต่มีอุบัติการณ์ของ systemic events แทบจะไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ 27% ในกลุ่มที่ได้รับ Abrysvo และ 26% ในกลุ่มที่ได้รับ placebo นอกจากนี้ ยังมี adverse events ในช่วง 1 เดือนหลังจากได้รับการฉีดวัคซีน Abrysvo หรือ placebo แทบจะไม่แตกต่างกันด้วย กล่าวคือ 9.0% และ 8.5% ตามลำดับ
นอกจาก Abrysvo ของ Pfizer แล้ว ยังมี RSV vaccine อีกตัวหนึ่งที่ได้รับการรับรองจาก FDA เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นก็คือ Arexvy ของ GlaxoSmithKline (GSK) โดย Arexvy เป็น AS01E-adjuvanted, recombinant subunit prefusion RSV F glycoprotein antigen (RSVPreF3) vaccine ที่ได้รับการรับรองจาก FDA เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ด้วยข้อบ่งใช้สำหรับป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดย Arexvy นับเป็น RSV vaccine ตัวแรกที่ได้รับการรับรองจาก FDA
ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ FDA ใช้ประกอบการพิจารณาให้การรับรอง Arexvy ในข้อบ่งใช้ดังกล่าว ก็คือผลลัพธ์ของ pivotal AReSVi-006 trial (Adult Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งเป็นการศึกษาทางคลินิกแบบ international, randomized, placebo-controlled, phase 3 trial ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 24,000 คน ที่ถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณ 12,000 คนได้รับ Arexvy 120 μg ฉีดเพียงเข็มเดียวเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจำนวนประมาณ 12,000 คนได้รับ placebo
ผลการศึกษาจากการติดตามผู้เข้าร่วมการศึกษาเป็นเวลาเฉลี่ย 6.7 เดือน พบว่า Arexvy มี VE อยู่ที่ 82.6% (96.95% confidence interval, 57.9 to 94.1) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ RSV-associated acute respiratory illness และมี VE อยู่ที่ s 94.1% (95% confidence interval, 62.4 to 99.9) ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของ severe RSV-related LRTD ส่วนข้อมูลด้านความปลอดภัยโดยรวมพบว่ากลุ่มที่ได้รับ Arexvy และกลุ่มที่ได้รับ placebo มี serious adverse events และ potential immune-mediated diseases ไม่แตกต่างกัน โดย adverse events ที่มีรายงานพบได้บ่อยในการศึกษานี้ ได้แก่ อาการปวดที่ตำแหน่งฉีด, อ่อนเพลีย, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะและปวดข้อ อย่างไรก็ตาม adverse events เหล่านี้มีความรุนแรงเล็กน้อยและเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น
อนึ่ง เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) แจ้งว่า CDC ได้ให้ความเห็นชอบต่อคำแนะนำของ Advisory Committee on Immunization Practices ของ CDC เกี่ยวกับการใช้ RSV vaccine 2 ตัว คือ Abrysvo และ Arexvy ในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
แหล่งที่มาของข้อมูล: www.fda.gov, www.healio.com, www.medscape.com, www.nejm.org, www.pfizer.com,www.medrxiv.org, www.cidrap.umn.edu, https://pfizermedical.pfizerpro.com, www.gsk.com