โครงการ “หายใจสบาย, ใช้ชีวิตเต็มที่: ผู้ป่วยโรคหืดต้องไม่เสียชีวิต” หรือ “Breathe Easy, Live Fully: Towards Zero Asthma Deaths” มุ่งหวังให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทยลดลงเป็นศูนย์ในสิบปี

สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาคีองค์กรต่างๆ ได้แก่ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็กแห่งประเทศไทย (ภายใต้การสนับสนุนของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมการแพทย์ จัดงานแถลงข่าว โครงการ “หายใจสบาย, ใช้ชีวิตเต็มที่: ผู้ป่วยโรคหืดต้องไม่เสียชีวิต” หรือ “Breathe Easy, Live Fully: Towards Zero Asthma Deaths” เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมเวิล์ดบอลรูมซี ชั้น 23 โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล เวิล์ด กรุงเทพมหานคร เนื่องในวันหืดโลก หรือ World Asthma Day 2024 ที่กำหนดโดย องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์กรโรคหืดโลก (Global Initiatives for Asthma – GINA) 


ในงาน รศ.นพ.ฮิโรชิ จันทาภากุล นายกสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคหืดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแนวทางการรักษาโรคหืด แพทย์ และทรัพยากรในการดูแลผู้ปวยโรคหืดเพียงพอ แต่ยังมีผู้ป่วยโรคหืดที่เสียชีวิตจากการกำเริบเฉียบพลันมากกว่า 400 คน ต่อปี ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นที่มีประชากรมากกว่าประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น หรือ สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย และภาคีองค์กรต่างๆ จึงร่วมกันริเริ่มโครงการ “ Breathe Easy, Live Fully: Towards Zero Asthma Deaths” “หายใจสบาย, ใช้ชีวิตเต็มที่: ผู้ป่วยโรคหืดต้องไม่เสียชีวิต” เพื่อร่วมยกระดับประสิทธิภาพการรักษาโรคหืดในประเทศไทย โดยการรวบรวมและติดตามข้อมูลของผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนร่วมกับภาคีองค์กรต่างๆ พร้อมเสนอแนวทาง ในการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดให้เหลือน้อยที่สุด โดยคาดหวังให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทยลดลงเหลือศูนย์ในระยะเวลาภายในสิบปี


 


“โรคหืด” เกิดจากภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ทั้งจากสารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรือมลพิษทางอากาศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง ตีบแคบเป็นพัก ๆ ส่งผลให้เกิดอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากตามมา อาการบ่งชี้ของโรค เช่น ไอเป็นชุด ๆ แน่นหน้าอก หายใจหอบ หายใจเสียงดังวี้ด ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น มลพิษทางอากาศ สารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส หรือการออกกำลังกาย โดย “โรคหืด” นั้นเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ และสามารถรักษาเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันการเกิดหืดกำเริบเฉียบพลัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องนั้นมีโอกาสหายขาดได้ ทั้งนี้คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า “โรคหืด” เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือสามารถหยุดยาได้เมื่อไม่มีอาการกำเริบ ทำให้ผู้ป่วยขาดความสม่ำเสมอในการใช้ยารักษา ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง


 


ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคหืดชนิดรุนแรง (Severe Asthma) ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ (Biologics) ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการต้านกลไกการเกิดโรค และให้ผลการรักษาที่ดีต่อคนไข้โรคหืดชนิดรุนแรงนั้น ทางกรมบัญชีกลางได้ประกาศอนุมัติให้ผู้ป่วยข้าราชการสามารถใช้สิทธิ์ในการรักษาได้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับคนไข้โรคหืดชนิดรุนแรง นอกจากนี้ยังมีแนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการได้ อาทิ การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การฝึกหายใจ การลดความเครียดทางอารมณ์ และจิตใจ และการลดน้ำหนัก ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรติดตามอาการของตนเอง และฝึกสังเกตอาการโดยมีแผนการปฏิบัติตนเบื้องต้นเพื่อควบคุมอาการของโรคหืด และหากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นอันตรายควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างทันท่วงที


 


โรคหืดเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหืดทั่วโลก 262 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรจำนวนมากกว่า 455,000 คน1 ส่งผลให้โรคหืดเป็นโรคที่สังคมควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยทางบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืด จึงพร้อมให้การสนับสนุนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย และภาคีองค์กร ในการดำเนินโครงการดังกล่าว  


 


 


1 https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=5183


ในงาน รศ.นพ.ฮิโรชิ จันทาภากุล นายกสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคหืดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแนวทางการรักษาโรคหืด แพทย์ และทรัพยากรในการดูแลผู้ปวยโรคหืดเพียงพอ แต่ยังมีผู้ป่วยโรคหืดที่เสียชีวิตจากการกำเริบเฉียบพลันมากกว่า 400 คน ต่อปี ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นที่มีประชากรมากกว่าประเทศไทย เช่น ญี่ปุ่น หรือ สหรัฐอเมริกา สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย และภาคีองค์กรต่างๆ จึงร่วมกันริเริ่มโครงการ “ Breathe Easy, Live Fully: Towards Zero Asthma Deaths” “หายใจสบาย, ใช้ชีวิตเต็มที่: ผู้ป่วยโรคหืดต้องไม่เสียชีวิต” เพื่อร่วมยกระดับประสิทธิภาพการรักษาโรคหืดในประเทศไทย โดยการรวบรวมและติดตามข้อมูลของผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนร่วมกับภาคีองค์กรต่างๆ พร้อมเสนอแนวทาง ในการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดให้เหลือน้อยที่สุด โดยคาดหวังให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทยลดลงเหลือศูนย์ในระยะเวลาภายในสิบปี


“โรคหืด” เกิดจากภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และไวต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ทั้งจากสารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อ หรือมลพิษทางอากาศ ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมหดเกร็ง ตีบแคบเป็นพัก ๆ ส่งผลให้เกิดอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจลำบากตามมา อาการบ่งชี้ของโรค เช่น ไอเป็นชุด ๆ แน่นหน้าอก หายใจหอบ หายใจเสียงดังวี้ด ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น มลพิษทางอากาศ สารก่อภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส หรือการออกกำลังกาย โดย “โรคหืด” นั้นเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ และสามารถรักษาเพื่อควบคุมอาการ และป้องกันการเกิดหืดกำเริบเฉียบพลัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ใช้ยาควบคุมโรคอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องนั้นมีโอกาสหายขาดได้ ทั้งนี้คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า “โรคหืด” เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือสามารถหยุดยาได้เมื่อไม่มีอาการกำเริบ ทำให้ผู้ป่วยขาดความสม่ำเสมอในการใช้ยารักษา ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง




ADVERTISEMENT







ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคหืดชนิดรุนแรง (Severe Asthma) ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ (Biologics) ที่มีความจำเพาะเจาะจงในการต้านกลไกการเกิดโรค และให้ผลการรักษาที่ดีต่อคนไข้โรคหืดชนิดรุนแรงนั้น ทางกรมบัญชีกลางได้ประกาศอนุมัติให้ผู้ป่วยข้าราชการสามารถใช้สิทธิ์ในการรักษาได้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งถือเป็นข่าวดีสำหรับคนไข้โรคหืดชนิดรุนแรง นอกจากนี้ยังมีแนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการได้ อาทิ การเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ การเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย การฝึกหายใจ การลดความเครียดทางอารมณ์ และจิตใจ และการลดน้ำหนัก ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรติดตามอาการของตนเอง และฝึกสังเกตอาการโดยมีแผนการปฏิบัติตนเบื้องต้นเพื่อควบคุมอาการของโรคหืด และหากมีอาการที่สงสัยว่าเป็นอันตรายควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างทันท่วงที


โรคหืดเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยโรคหืดทั่วโลก 262 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรจำนวนมากกว่า 455,000 คน1 ส่งผลให้โรคหืดเป็นโรคที่สังคมควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยทางบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืด จึงพร้อมให้การสนับสนุนสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย และภาคีองค์กร ในการดำเนินโครงการดังกล่าว




ADVERTISEMENT







1 https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=5183