แม้จะมีการเปิดตัววัคซีนที่มีศักยภาพในการหยุดการระบาดของโรค COVID-19 แต่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยหลายคนเชื่อว่าการรักษาโดยอาศัยแอนติบอดีมีโอกาสมากที่จะรักษาผู้ที่ติดโรคนี้แล้ว
การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้แอนติบอดีที่สร้างจากมนุษย์หรือสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วเพื่อกำจัดโรคในผู้ป่วย การรักษาวิธีนี้มีประวัติย้อนหลังไปถึงปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อนักวิจัยใช้ซีรัมที่ได้จากเลือดของสัตว์ที่ติดเชื้อเพื่อรักษาโรคคอตีบ (diphtheria)
สำหรับการรักษาโรค COVID-19 คณะผู้วิจัยกำลังศึกษาการใช้ convalescent plasma และวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่สร้างด้วยเลือดจากผู้ป่วยซึ่งฟื้นจากอาการป่วยเมื่อเร็ว ๆ นี้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการรักษาที่เรียกว่า monoclonal antibodies เป็นแอนติบอดีที่สามารถแยกออกมาและผลิตได้ในปริมาณมากเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ อย่างเช่น อีโบลา หรือโรคมะเร็ง บริษัทต่างๆ เช่น Eli Lilly and Co และ Regeneron Pharmaceuticals ในสหรัฐอเมริกา กำลังพยายามใช้วิธีนี้ในการพัฒนาวิธีการรักษาของแต่ละแห่ง
วิธีนี้แตกต่างจาก convalescent plasma ผู้ผลิตไม่ต้องการซัพพลายที่สม่ำเสมอของเลือดซึ่งมีแอนติบอดีมากเพื่อผลิต monoclonal antibodies ดังนั้น วิธีนี้จะง่ายกว่าในการยกระดับให้ผลิตในปริมาณมาก
โดยทั่วไป เป้าหมายของวัคซีนเพื่อสร้างการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่สามารถจะป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคนั้น ๆ ในขณะที่จะออกแบบผลผลิตจากแอนติบอดีสำหรับรักษาโรค
และแม้ผู้ผลิตยาบางรายจะได้เสนอว่าสามารถใช้การรักษาด้วยแอนติบอดีเพื่อป้องกันโรค เช่น George Yancopoulos ประธานเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ของ Regeneron กล่าวว่า วิธีการรักษาของคณะทำงานสามารถเป็นสะพานนำไปสู่วัคซีนได้ แต่เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูง
“คุณอาจจะไปที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือค่ายทหารและใช้การรักษาแบบนี้ เพราะแอนติบอดีมีครึ่งชีวิตค่อนข้างยาว” Dr. Betty Diamond ผู้อำนวยการ Molecular Medicine ที่ Feinstein Institutes for Medical Research กล่าว
“คุณอาจตัดสินใจว่า คุณจะใช้วิธีนี้เพื่อการป้องกันในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก แต่คุณจะไม่ทำเช่นนั้นสำหรับทั้งประเทศ
ปริมาณโปรตีนในยาแอนติบอดีทำให้การรักษามีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวัคซีนโดยทั่วไป Feng Hui ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่ Shanghai Junshi Biosciences กล่าว
ปัจจุบันหลายบริษัทกำลังพัฒนาการรักษาด้วยแอนติบอดีสำหรับ COVID-19
บริษัท Eli Lilly ได้ร่วมมือกับบริษัท Junshi และบริษัท AbCellera Biologics บริษัท ไบโอเทค ของแคนาดา เพื่อพัฒนาการรักษาต่าง ๆ ด้วยแอนติบอดี ซึ่งได้เริ่มการทดสอบวิธีการรักษา 2 วิธี ในมนุษย์ในขั้นแรกแล้ว
Regeneron วางแผนเริ่มการศึกษาทางคลินิกปลายเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อทดสอบการรักษาด้วยแอน antibody cocktail treatment ซึ่งได้แอนติบอดีจากหนูที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม มีเป้าหมายเพื่อให้มียาป้องกันในปริมาณมาก “ก่อนสิ้นฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วง”
กลุ่ม CoVIg-19 Plasma Alliance ซึ่งประกอบด้วย Takeda Pharmaceuticals ประเทศญี่ปุ่น และ CSL Behring กำลังศึกษาการรักษาด้วย hyperimmune globulin ซึ่งได้จาก convalescent plasma สามารถให้ยาแอนติบอดีขนาดมาตรฐานและไม่จำเป็นต้องจำกัดใช้เฉพาะผู้ที่มีชนิดเลือดเข้ากันได้
โครงการ Antibody Therapy Against Coronavirus (ATAC) ซึ่งได้รับทุนจาก European Commission และนำโดย Karolinska สถาบันวิจัยของประเทศสวีเดน กำลังศึกษาวิธีการอย่างเดียวกัน รวมทั้ง monoclonal antibodies ในโครงการนี้กำลังทดสอบ monoclonal antibodies ซึ่งสกัดจาก convalescent plasma กับอาสาสมัครในประเทศเยอรมนีและกับสัตว์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในขณะนี้
GlaxoSmithKline (GSK.L) ประเทศอังกฤษกำลังทำงานกับ Vir Biotechnology Inc (VIR.O) เพื่อพัฒนาการรักษาด้วยแอนติบอดีที่มีศักยภาพ ซึ่งจะเลือกแอนติบอดีที่ดีที่สุดจากพลาสมา
AbbVie (ABBV.N) ยังประกาศความร่วมมือเพื่อพัฒนาการรักษาด้วยแอนติบอดี
A*Star องค์การวิจัยภาครัฐของประเทศสิงคโปร์กำลังร่วมมือกับ Chugai Pharmabody Research ประเทศญี่ปุ่นศึกษาแอนติบอดีเพื่อการใช้ทางคลินิก
บรรยายภาพบน เครื่องแยกส่วนประกอบเลือดทำหน้าที่แยกและเก็บ convalescent plasma จากเลือดทั้งหมดของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และฟื้นจากอาการป่วยแล้วที่ Central Seattle Donor Center แห่ง Bloodworks Northwest ระหว่างการระบาดที่ซีแอตเทิล วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และจะนำพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากอาการแล้วไปใช้ในการศึกษาวิธีการรักษาในห้องปฏิบัติการสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน REUTERS/Lindsey Wasson