เป็นฝันร้ายของพ่อแม่ทุกคน หากพบว่าลูกของคุณเดินกะโผลกกะเผลกและไม่ตอบสนองจาก “การใช้ยาเกินขนาด” ในเด็ก ความผิดพลาดนี้อาจมาจากใบสั่งยาของกุมารแพทย์ การจ่ายยาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแล เมื่ออยู่โดยลำพังได้หยิบยาขึ้นมาแล้วกินเล่นเหมือนลูกอม
ในปี 2017 เด็กชายอายุ 14 เดือนในสิงคโปร์ได้รับการจ่ายยาน้ำ Fedac ซึ่งเป็นยาแก้ไอเกินไป 4 เท่า สำหรับอายุของเขา และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเมื่อแม่ของเขาไม่สามารถปลุกเขาให้ตื่นจากหลับสนิทได้
แม่ได้รับคำสั่งให้ให้ Fedac แก่เด็ก 10 มล. วันละ 3 ครั้ง ตามรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของสิงคโปร์ (Health Sciences Authority) เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรบริโภคเกิน 2.5 มล. ต่อโด๊ส
การใช้ยาเกินขนาดเกิดขึ้นตอนไหนและทำไม ?
คำแนะนำที่สับสน
กรณีนี้อาจเกิดขึ้นได้หากมีการปะปนกันระหว่างคำสั่งของแพทย์และการจ่ายยาโดยพยาบาลของคลินิก หรือพ่อแม่เองที่หวังดีที่ต้องการบรรเทาอาการของลูกโดยเร็วที่สุด เลยอาจนำไปสู่ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง อ่านฉลากอย่างระมัดระวังและใช้ถ้วยตวง กระบอกฉีดยา ช้อน หรือหลอดหยดที่บรรจุยามาด้วย
สั่งยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมกัน
ยาหลายชนิดอาจมีส่วนผสมที่ออกฤทธิ์เหมือนกัน เช่น อะเซตามิโนเฟนหรือพาราเซตามอล ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ให้ยา 2 ตัว กับลูกของคุณที่มีสารออกฤทธิ์เหมือนกันเพราะอาจนำไปสู่การใช้ยาเกินขนาด
ไม่ได้เก็บยาให้พ้นมือเด็ก
เก็บยาไว้ในบริเวณที่เด็กเล็กเข้าถึงได้ยาก เก็บให้พ้นมือทุกครั้งที่ใช้งาน ปิดฝายาแบบป้องกันเด็กจนกว่าจะได้ยินเสียงคลิก
ลูกได้รับยาชนิดออกฤทธิ์เนิ่นถี่เกินไป
ยาชนิดออกฤทธิ์เนิ่นถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ยาถูกปล่อยออกมาทีละน้อยเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ผลของยาจึงคงอยู่ได้นานขึ้นและไม่จำเป็นต้องรับประทานบ่อยเท่ายาแบบอื่น ๆ
ใช้ยาร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ใหญ่
ยามาในรูปแบบความเข้มข้น และปริมาณที่แตกต่างกันสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก และไม่ควรใช้ด้วยกัน กำหนดให้ผู้ใหญ่ในครอบครัวเป็นผู้จ่ายยาเสมอ เพื่อไม่ให้เด็กได้รับยาเกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจ
ใช้ยาแผนปัจจุบันและยาจีนร่วมกัน
การรวมยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์กับยาเสริมและยาทางเลือกจะเพิ่มความเสี่ยงในการทำงานร่วมกันระหว่างยาและสมุนไพร สมุนไพรจีนบางชนิดอาจมีส่วนผสมที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งพบได้ในยาแผนปัจจุบัน ส่งผลให้กลายเป็นรับประทานยาเกินขนาดเมื่อบริโภคร่วมกัน
สัญญาณของการใช้ยาเกินขนาด
คุณจะบอกได้อย่างไรว่าลูกของคุณกำลังใช้ยาเกินขนาดหรือเปล่า ? อาการแสดงอาจแตกต่างกันไปตามอายุ น้ำหนักและขนาดของเด็ก ตลอดจนชนิดและปริมาณของยาที่เขาหรือเธอใช้ ให้ระวังสัญญาณที่เกิดขึ้นเหล่านี้
- อาเจียน ปวดท้อง คลื่นไส้ หรือท้องเสีย
- อาการวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น หรือหายใจลำบาก
- อาการชัก
- กระสับกระส่ายหรือควบคุมตัวเองไม่ได้
- อาการง่วงนอนหรือหมดสติ
- ผิวแดง
- หน้าซีด
- น้ำลายไหลหรือปากแห้ง
- อาการชักหรือกระตุกอย่างรุนแรง
- รูม่านตาขยายหรือหดตัว
- การอยู่ไม่นิ่ง และนอนอย่างปลุกไม่ตื่น
- ภาพหลอน (เห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น)
- สูญเสียการทำงานร่วมกันและพูดไม่ชัด
- เหงื่อแตก
- เหนื่อยมาก
- ผิวหนังหรือตาเหลืองอย่างรุนแรง
- เสียงก้องอยู่ในหู
- เลือดออกหรือช้ำผิดปกติ
- ชา
- หัวใจเต้นเร็ว
- ปัสสาวะลำบากหรือถ่ายอุจจาระลำบาก
ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณสงสัยว่าอาจใช้ยาเกินขนาดกับยาแก้ไอหรือแก้ไข้ เก็บขวดยาไว้ใกล้มือเพื่อให้คุณสามารถระบุส่วนผสมที่แน่นอนในยาให้แพทย์ทราบได้
จะทำอย่างไรเมื่อคุณสงสัยว่าลูกใช้ยาเกินขนาด ?
สงบสติอารมณ์และดำเนินการอย่างรวดเร็ว
พาลูกของคุณไปโรงพยาบาลทันที แพทย์จะปั๊มท้องของลูกคุณ กระตุ้นให้อาเจียนสารพิษออก หรือให้ถ่านกัมมันต์ทางปากเพื่อดูดซับพิษ หากยาถูกหลอมรวมเข้าสู่กระแสเลือด อาจให้ยาแก้พิษ เช่น N-acetylcysteine
ตั้งค่าโทร. ด่วนให้กับหมายเลขโทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ขอแนะนำให้ไปโรงพยาบาลที่มีแผนกพิษวิทยาฉุกเฉิน แปะหมายเลขโทรศัพท์บนประตูตู้เย็นของคุณและบันทึกไว้ในบัญชีรายชื่อหมายเลขที่จำเป็นสำหรับพี่เลี้ยงเด็ก ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัว
โทร. หาแพทย์ทันที
โทร. ติดต่อโรงพยาบาลทันที หากลูกของคุณ
- ไม่ตื่น
- หายใจลำบาก
- กระตุกหรือสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
- แสดงพฤติกรรมที่แปลกประหลาดอย่างยิ่งและไม่ใช่ตัวตนปกติของเขา
- มีปัญหาในการกลืน
- ผื่นขึ้นอย่างรวดเร็ว
- บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
บุคลากรทางการแพทย์ของคุณอาจไม่รู้จักยาที่ลูกของคุณกินยาเกินขนาด ดังนั้น โปรดเตรียมข้อมูลต่อไปนี้ให้พร้อมเพื่อที่พวกเขาจะได้ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาให้กับลูกของคุณ
- อายุและน้ำหนักของลูก
- อาการของลูก
- ประวัติสุขภาพและการใช้ยาของลูก ปฏิกิริยาการแพ้ยาใด ๆ ภาวะสุขภาพที่มีอยู่ก่อน หรือความผิดปกติทางพันธุกรรมของเลือด
- ชื่อที่ถูกต้องของยาที่คุณสงสัยว่าลูกของคุณอาจใช้ยาเกินขนาด หากเป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ ให้ขอชื่อยา ร้านขายยา ปริมาณที่แนะนำ และวันที่สั่งยาบนฉลาก
- ปริมาณที่เด็กกลืนเข้าไป ถ้าไม่แน่ใจก็บอกไปตามตรง
- ขนาดของภาชนะที่บรรจุยา
- ความแรงของยา (หน่วยเป็น mg, mcg, mg/ml, mg/oz, mg/tsp)
- สารออกฤทธิ์ที่ระบุไว้
เหนือสิ่งอื่นใด อยู่ในความสงบ อาจดูเหมือนพูดง่ายแต่ทำยาก แต่สิ่งที่ลูกของคุณต้องการจริง ๆ ในกรณีที่อาจใช้ยาเกินขนาด คือ ผู้ปกครองที่สงบสติอารมณ์และรวบรวมความคิดได้อย่างรวดเร็ว
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล : https://story.motherhood.co.th/